การจ่ายค่าชดเชย
ประเด็นที่ 1 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย ตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ตามมาตรา 118 ดังนี้
1.1
ทำงานครบ
120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30
วัน
1.2
ทำงานครบ
1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90
วัน
1.3
ทำงานครบ
3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180
วัน
1.4
ทำงานครบ
6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240
วัน
1.5
ทำงานครบ
10 ปีขึ้นไป
จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน
ทนายเชียงใหม่
และทนายความเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โดยค่าชดเชยต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง
หากไม่จ่ายถือว่าผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่ต้องทวงถาม
ประเด็นที่ 2 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
ซึ่งงานดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 2
ปี
โดยมีหนังสือสัญญาไว้ตั้งแต่เริ่มจ้าง
ประเด็นที่ 3 กรณีย้ายสถานประกอบการ
นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30
วัน
หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
ค่าชดเชยพิเศษ
ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ
อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้
1
ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
60 วัน
2
ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3
ลูกจ้างที่มีอายุงาน
6 ปีขึ้นไป
มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน
เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมด แล้วต้องไม่เกิน 360
วัน
ประเด็นที่ 4 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด
ตามมาตรา 119 ดังนี้
4.1
ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
4.2
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4.3
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4.4
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
ทนายเชียงใหม่
และทนายความเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกิน 1
ปี
นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
4.5
ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา
3 วันทำงานติดต่อกัน
ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
4.6
ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ตัวอย่างคดี
กรณี
ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2524
ผู้คัดค้านมีหน้าที่ตัดผ้าใบ
แล้วไม่ตัดผ้าใบตามคำสั่งกลับทำรายงานเท็จว่าตัดเสร็จแล้ว
เพื่อแสวงหาประโยชน์จากเงินค่าแรงที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ย่อมถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1)(2) จึงเป็นความผิดทางวินัยดังระบุไว้ตามข้อบังคับของผู้ร้อง
ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2523
การที่โจทก์แก้ไขใบรับรองแพทย์ซึ่งต้องยื่นต่อจำเลยตามระเบียบ
เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ลาป่วย
โดยเพิ่มวันที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวขึ้นอีก1
วัน
และได้ยื่นใบรับรองแพทย์ที่แก้ไขแล้วต่อจำเลยนั้น
เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า จึงเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ตอนท้าย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้
กรณี
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2530
ผู้คัดค้านเป็นหัวหน้าแผนกขายส่วนกลาง
ยอมให้ผู้ถอนหรือผู้เบิกรับแบตเตอรี่ไปก่อน
ไม่มีใบถอนทันทีโดยจะมีการจัดส่งใบถอนหรือใบรับในภายหลังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้องเกี่ยวกับการถอนหรือเบิกแบตเตอรี่
แม้จะมีการปฏิบัติดังกล่าวมานานก็ตาม
ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องได้
การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงาน
เมื่อการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ร้องเสียหายเป็นเงินประมาณสี่แสนบาท และตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้อง
การประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานเป็นเหตุให้องค์การ (ผู้ร้อง)
เสียหายอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ดังนี้ผู้ร้องจึงมีสิทธิเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้.
กรณีฝ่าผืนข้อบังคับหรือระเบียบหรือคำสั่งที่ถือว่าเป็น
กรณีที่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2523
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น
มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16
เมษายน
2515 ข้อ 68ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 103 ดังนั้น
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง
จะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 68 กำหนดไว้ซึ่งข้อ 68(6)
มีรายการเรื่องวินัยและโทษทางวินัยด้วยฉะนั้น ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าการเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยได้ ส่วนการจ่ายค่าชดเชย ต้องบังคับตามข้อ 47(3)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท
ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม
นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว
ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ
ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง
และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง
กรณี
ฝ่าผืนข้อบังคับหรือระเบียบหรือคำสั่งที่ถือว่าเป็น กรณีที่ไม่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2523
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจวางข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ได้
แต่การเล่นแชร์เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ ไม่มีกฎหมายห้ามการเล่นแชร์
การเล่นแชร์ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า
โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก
ดังนั้นการนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
กรณี
ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
กรณี มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน
มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก
ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง
ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ
ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร
กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4)
ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้
กรณี
ไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ
โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า
ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม
2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ
ข้อ 47(4)
กรณี
นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา หรือ ค่าชดเชย ภายในกำหนดเวลา
จะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้นในอัตราร้อยละ 15
ต่อปี
หากการไม่จ่ายเงินดังกล่าว
เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ
15 ของทุกระยะ 7 วัน จนกว่าจะจ่ายครบ และมีโทษจำคุกไม่เกิน
6 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณี
สัญญาจ้างสิ้นสุดตามกำหนดเวลา : นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
กรณี การต่อสัญญา
นายจ้างประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างต่อสัญญากับนายจ้างและทำงานกับนายจ้างต่อไป
ลูกจ้างไม่ประสงค์ทำงานต่อไป
ทนายเชียงใหม่
และทนายความเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ลูกจ้างจะอ้างผลของสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลา
เรียกให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะถือไม่ได้ว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8002/2549
ก่อนที่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกับจำเลยจะสิ้นสุดลงในวันที่
15 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าบริษัท
ก. ได้ขยายระยะเวลาว่าจ้างจำเลยออกไปถึงวันที่ 31
ธันวาคม
2548 และให้ลูกจ้างทั้งหมดเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยต่อไปจนครบกำหนดระยะเวลาที่บริษัท
ก. ขยายออกไป
แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้ทำบันทึกเสนอต่อฝ่ายบุคคลของจำเลยว่าไม่ประสงค์ต่อสัญญากับจำเลยและคืนบัตรลูกจ้างในวันที่
15 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้วไม่ไปทำงานอีกเลย ทนายเชียงใหม่ และทนายความเชียงใหม่
ขอเรียนว่า จำเลยมิได้กระทำการใดๆ
เพื่อมิให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้
กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด
หลักกฎหมายตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
(1)
ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ
เป็นหน่วย
(2)
ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี
แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3)
ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี
แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4)
ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี
แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5)
ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตามมาตรานี้
หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้
ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด
และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด
หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1)
ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2)
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3)
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4)
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5)
ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6)
ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
#ทนายเชียงใหม่อาสาช่วยท่านด้วยใจ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่ง #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ฟรี #ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ #ที่ปรึกษากฎหมายเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #รายชื่อทนายความเชียงใหม่ #สำนักทนายความเชียงใหม่ #ทนายเก่งๆเชียงใหม่ #สภาทนายความเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายที่ดินเชียงใหม่ #ทนายอาสาศาลเชียงใหม่ #ทนายอาสาศาลากลางเชียงใหม่ #กฎหมายเชียงใหม่ #สำนักงานทนายความเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #ทนายฝึกงานเชียงใหม่ #ฝึกงานทนายเชียงใหม่ #LawFirmเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเก่งเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่pantip #ทนายอาสาเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายฟรีเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่ง #ทนายความเชียงใหม่เก่ง #ทนายอาสาเชียงใหม่ฟรี #สํานักงานกฎหมาย เชียงใหม่ #ทนายครอบครัวเชียงใหม่ #ทนายสองพี่น้อง #ทนายฝาง #ทนายอาสาเก่งๆ #ทนายสันป่าตอง #ทนายสันทราย #ทนายแม่ริม #ทนายสันกำแพง #ทนายสารภี #ทนายความเชียงใหม่คดีหย่า
Post By ADMIN ดร.เกียรติศักดิ์
ทนายวิถีพุทธ เนติบัณฑิตย์ไทย และทีมทนายความเชียงใหม่ ทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, เชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, ปรึกษาทนายเชียงใหม่ฟรี, ทนายเชียงใหม่เก่ง, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ที่ปรึกษากฎหมายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ฟรี, ทนายที่ดินเชียงใหม่, ทนายอาสาศาลเชียงใหม่, ทนายอาสาศาลากลางเชียงใหม่, กฎหมายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,
ทนายเก่งเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่เก่ง, ทนายเชียงใหม่pantip, ทนายอาสาเชียงใหม่, ปรึกษาทนายฟรีเชียงใหม่, LawFirmเชียงใหม่,
ปรึกษาทนายฟรีเชียงใหม่, ทนายสองพี่น้อง, ทนายฝาง, ทนายเชียงใหม่เก่ง, ทนายอาสาเชียงใหม่ฟรี, สํานักงานกฎหมาย
เชียงใหม่, ทนายครอบครัวเชียงใหม่, ทนายอาสาเก่งๆ, ทนายสันป่าตอง, ทนายสันทราย, ทนายแม่ริม, ทนายสันกำแพง,
ทนายสารภี, ทนายความเชียงใหม่คดีหย่า